นักวิเคราะห์ระบุว่า เกาหลีใต้กำลังเตรียมที่จะกลายเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหม่ให้กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ซึ่งความต้องการยุทโธปกรณ์ขั้นสูงแต่ราคาย่อมเยากำลังเพิ่มขึ้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่งานนิทรรศการการเดินเรือและการบินและอวกาศลังกาวี กระทรวงกลาโหมของมาเลเซียได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 2.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (7.9 หมื่นล้านบาท) กับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเกาหลี (KAI) เพื่อซื้อยุทโธปกรณ์ ซึ่งรวมถึงเครื่องบิน FA-50 จำนวน 18 ลำ
นอกจากนี้ ยังมีฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุด 2 รายของเกาหลีใต้ โดยคิดเป็น 16% และ 14% ของยอดขายทั้งหมดตามลำดับ โดยตั้งแต่ปี 2017-2021 เกาหลีใต้จัดส่งอาวุธไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วรวมมูลค่าเกือบ 2 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (6.9 หมื่นล้านบาท)
กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้รายงานว่า ยอดขายอาวุธทั้งหมดของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นจาก 7.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.5 แสนล้านบาท) ในปี 2021 เป็น 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.9 แสนล้านบาท) ในปีที่แล้ว โตขึ้นเกือบ 140%
เดิมทีแล้ว เกาหลีใต้มีห่วงโซ่อุปทานทางทหารในประเทศที่แข็งแกร่ง จากการต้องเสริมศักยภาพเพื่อปกป้องตัวเองจากเกาหลีเหนือ แต่มองเห็นโอกาสในการเป็นผู้จัดหาอาวุธให้กับประเทศอื่น ๆ ด้วย
นาซา เปิดเวทีสาธารณะครั้งแรก "รายงานการเห็นยูเอฟโอ"
เกาหลีเหนือยืนยัน ไม่ละความพยายามปล่อยดาวเทียมสอดแนม
เกาหลีใต้ตั้งเป้าหมาย เป็นประเทศผู้นำด้านการผลิตอาวุธ
เอียน สตอรีย์ เจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบัน ISEAS-Yusof Ishak ในสิงคโปร์ กล่าวว่า เกาหลีใต้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากยินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธให้ประเทศในภูมิภาค ต่างจากชาติตะวันตกที่บากในการเจรจาวื้อขายส่งมอบเทคโนโลยีทางทหาร
“อาวุธของเกาหลีใต้เป็นยุทโธปกรณ์ไฮเทคที่ราคาถูกกว่ายุทโธปกรณ์ของชาติตะวันตก” สตอรีย์กล่าว พร้อมเสริมว่า บริษัทด้านการทหารของเกาหลีใต้จะยังคงพยายามขยายส่วนแบ่งการขายอาวุธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
อี แจฮยอน ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันอาซานเพื่อการศึกษานโยบาย ให้ความเห็นว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มองว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ “ไม่มีวาระเชิงกลยุทธ์แอบแฝง” และ “มีภาระด้านการเมืองและยุทธศาสตร์น้อยกว่า” เมื่อเทียบกับผู้จัดหาอาวุธรายอื่น
“การส่งออกอาวุธของเกาหลีใต้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาค่อนข้างจะเป็นแนวทางเชิงพาณิชย์มากกว่าแนวทางเชิงกลยุทธ์” อี แจฮยอง กล่าว และเสริมว่าสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การขายอาวุธขั้นสูงและมีราคาแพง ซึ่ง “ไม่จำเป็นสำหรับประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ตัวอย่างเช่น เครื่องบินเจ็ต KFX เจเนอเรชันใหม่ที่พัฒนาโดย KAI ร่วมกับอินโดนีเซีย ได้รับการออกแบบให้เป็นทางเลือกที่ถูกกว่าแต่อำพรางตัวได้น้อยกว่า F-35 ที่สร้างในสหรัฐฯ ขณะที่ FA-50 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบราคาลำละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.7 พันล้านบาท) มีราคาถูกกว่าเครื่องบินไอพ่นของอเมริกาหรือยุโรปชนิดครึ่งต่อครึ่ง
อี แจฮยอง ตั้งข้อสังเกตว่า ความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นของเกาหลีใต้ในตลาดค้าอาวุธระหว่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดจากนโยบายขแงรัฐบาลชุดก่อนที่มีการดำเนินงานสืบเนื่องโดยรัฐบาลปัจจุบันภายใต้ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ยุน ซ็อกยอล
เขาประเมินว่า ภายใต้โครงการริเริ่มความสัมพันธ์เกาหลี-อาเซียนของยุน ซอกยอล การขายอาวุธและความร่วมมือด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศถือเป็นวาระสำคัญของรัฐบาล พร้อมเสริมว่า บริษัทเกาหลีพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อี แจฮยอง ยังบอกอีกว่า สงครามในยูเครนและความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ได้กระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกระดับการเตรียมพร้อมทางทหารและการซื้ออาวุธคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ระบุว่า ปัจจุบัน เกาหลีใต้เป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่อันดับ 3 ให้แก่นาโตและประเทศสมาชิก โดยสัดส่วนอยู่ที่ 4.9% ของการซื้อของนาดต เป็นรองสหรัฐฯ (65%) และฝรั่งเศส (8.6%)
แต่ข้อตกลงด้านอาวุธมูลค่า 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.7 แสนล้านบาท) เมื่อเร็ว ๆ นี้กับโปแลนด์ เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนความทะเยอทะยานของเกาหลีใต้ในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมทางทหาร
คณะบริหารชุดปัจจุบันให้คำมั่นว่า จะทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับ 4 ของโลกให้ได้ภายในปี 2027 รองจากสหรัฐฯ รัสเซีย และฝรั่งเศส
ตามรายงานของ SIPRI ที่ผ่านมา รัสเซียเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยขายยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศมูลค่ารรวมราว 1.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.7 แสนล้านบาท) ให้กับชาติอาเซียนระหว่างปี 2000-2019 โดยขายให้เวียดนาม เมียนมา ลาว และไทย เป็นส่วนใหญ่
ดทมัส ดาเนียล เจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบันยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศในมาเลเซีย กล่าวว่า เป็นเรื่อง “ไม่ฉลาด” สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะซื้ออาวุธของรัสเซียในระยะสั้นถึงระยะกลาง เนื่องจากการคว่ำบาตรจากสงครามยูเครนจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตและส่งออกอาวุธของรัสเซีย
นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของยุทโธปกรณ์รัสเซียบางรุ่นก็ถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพ โดยอ้างอิงจากประสิทธิภาพที่ย่ำแย่ของรัสเซียในสนามรบสงครามยูเครน ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ผลิตโดยรัสเซีย
เรียบเรียงจาก SCMP
ภาพจาก AFP